คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556



วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 16

-อาจารย์พูดถึง blogger ว่า ควรมี วิจัย/สื่อนิทาน/เกม/แบบฝึกหัด/โทรทัศน์ครู/เพลงเด็ก


กลุ่มเพื่อนสอบสอน



หน่วยไข่กับการทำอาหาร

หน่วยไข่จ๋า

หน่วยน้ำ

หมายเหตุ

อาจารย์บอกว่าจะสอบปลายภาคนอกตาราง แต่สอบในวันที่และเวลาเดิม ให้มาเจอกันที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์



วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 15

-Present แผนการสอน (กลุ่มวรรณพร) หน่วยการเรียนรู้เรื่องสัตว์
-อาจารย์ยกตัวอย่างรูปแบบการสอนเด็ก




วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 14

เนื้อหาที่เรียน






เพลง ยืนตัวตรง
     
     สองมือเราชูตรง                แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
่ต่อไปย้ายมาข้างหน้า           แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ตบมือแผละ

     ยืืนให้ัตัวตรง                      ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนขวา(ซ้าย) อยู่ไหน         หันตัวไปทางนั้นแหล่ะ


ตัวอย่างหน่วยกิจกรรมเคลื่อนไหว







วันที่ 30 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 13


-สิ่งที่แสดงพัฒนาศักยภาพของเราเอง (เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิด)

-บทบาทสมมุติ                    -นิทานเวที
-รำ                                       -นิทรรศการสื่่อ
-เล่นดนตรี                            - งานศิลปะ
-ร้องเพลง                             -เต้น
-เล่านิทาน                            -เล่นเกม


  1.  การสอนเด็กจะต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก
  2. การนับหรือการเรียง ต้องเรียนจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะทำให้เด็กมีประสบการณ์พื้นฐานของการจำ
  3. การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับคำนั้นๆ
  4. เครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของคนในระดับต่อไปคือ ภาษาและคณิตศาสตร์



วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556



วันที่ 23 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 12

-อาจารย์ให้ทำ Mind mapping โดยแบ่งกลุ่มๆ ละ 5 คน กลุ่มดิฉันมีสมาชิกดังนี้

  • นางสาวกรรจิรา  สึกขุนทด
  • นางสาวศริวรรณ  ปานมุข
  • นางสาวนพมาศ  วันดี
  • นางสาวชิดชนก  เสโส
  • นางสาวพัชรินทร์  แก้วปุ๋ย



ี่่่

แผนการสอนหน่วย "ครอบครัว"

ตารางกิจกรรม 1 สัปดาห์

วันที่ 16 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 11

**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันครู จึงเข้าร่วมกิจกรรมรำลึกพระคุณครู**


ภาพการเข้าร่วมกิจกรรม



วันที่ 9 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 10


-ทบทวนมาตรฐานของคณิตศาสตร์ 

มาตราฐานที่ 1 
ตัวอย่าง


มาตราฐานที่ 2 การวัด เช่น วัดน้ำหนัก/ส่วนสูง


-การเลือกเรื่องที่จะสอนเด็ก
  • เรื่องรอบตัวเด็ก
  • เื่รื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
-การสร้างสื่อการสอน อย่าสร้างให้ยึดติดกับผนัง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้

งานที่มอบหมาย
-จับกลุ่มๆ ละ 5 คน สร้างหน่วยการเรียนรู้ 1 เรื่อง เลือกสาระเรียนรู้ในหลักสูตร ทำเป็น Mind mapping ว่าเด็กต้องเรียนรู้อะไรบ้าง







วันที่ 2 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 9

     วันนี้เป็นวันเปิดเรียนวันแรกของปี 2556 อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไปเมื่อครั้งที่แล้ว ซึ่งดิฉันคู่กับนางสาวบงกช  รัศมีธนาวงศ์ ได้ทำเกมชื่อ "ผีเสื้อดุ๊กดิ๊ก"


เกม ผีเสื้อดุ๊กดิ๊ก




วันที่ 26 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 8


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค**




วันที่ 19 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 7

-อาจารย์ให้ส่งวงกลมที่ตัดมาของแต่ละคน และเขียนชื่อติดด้านหลัง ส่วนคนที่ทำมาผิดให้กลับไปทำใหม่ คนที่ส่งงานครั้งนี้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และคนที่ทำผิดอาจจะเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด ไม่เข้าใจในคำสั่ง หรือหาวัสดุไม่ได้
-มาตรฐาน นึกถึง ตัวชี้วัด การเป็นสากล คุณภาพ เกณฑ์การประเมิน ตัววัดผล สถานศึกษา การสอน สินค้าผลิตภัณฑ์ เป็นขั้นต่ำของคุณภาพ
-คณิตศาสาตร์และภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-กรอบ นึกถึง ขอบเขต ข้อจำกัด กฎเกณฑ์
-ศัตรูของการคิดสร้างสรรค์ คือ การขาดความเชื่่อมั่น
-ปัจจัยที่ทำให้ขาดความเชื่อมั่น  คือ ครูไม่รู้จักการรอคอย ไม่ให้เวลาแก่เด็ก ครูต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล


วงกลมของฉัน





กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ โดย สสวท.



วันที่ 12 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 6

      อาจารย์ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์เป็นคู่ โดยใช้สื่ออะไรก็ได้ คู่ของดิฉันคือ
นางสาวพัชรินทร์ แก้วปุ๋ย ซึ่งได้เขียนขอบข่ายเรื่อง อุปกรณ์การเรียน ดังนี้

  1. การนับ = นำอุปกรณ์การเรียนมารวมกัน แล้วให้เด็กนับ 1-10 หรือจำนวนทั้งหมด
  2. ตัวเลข = ให้เด็กบอกจำนวนที่นับได้ทั้งหมด แล้วครูเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนเป็นเลขฮินดูอารบิก
  3. การจับคู่ = ให้เด็กจับคู่อุปกรณ์ที่เป็นประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท = ให้เด็กจัดอุปกรณ์ที่มีสีเดียวกัน
  5. การเปรียบเทียบ = ให้เด็กเปรียบเทียบปากกากับดินสอ ว่าอันไหนสั้นอันไหนยาวกว่ากัน
  6. การจัดลำดับ = ให้เด็กแบ่งอุปกรณ์เป็น 2 ชุด ในหนึ่งชุดมี สมุด ปากกาแดง ปากกาน้ำเงิน ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด อย่างละ 1 ชั้น
  7. รูปทรงและเนื้อที่ = ให้เด็กหยิบอุปกรณ์มา 8 ชิ้นแล้วให้สร้างเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการของตนเอง
  8. การวัด = ให้เด็กวัดดินสอ 2 แท่งที่มีขนาดไม่เท่ากัน
  9. เซต = ครูถามเด็กว่าอุปกรณ์ที่นำมาทั้งหมดเรียกว่าเซตอะไร
  10. เศษส่วน = ให้เด็กแบ่งอุปกรณ์ทั้งหมดออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ชิ้นอย่างเท่าๆกัน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย = ครูนำอุปกรณ์มา 4 ชิ้นวางเรียงกัน แล้วนำออกไปหนึ่งชิ้นและให้เด็กตอบว่าอุปกรณ์อะไรที่หายไป
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ = ครูนำไม้บรรทัดกับกบเหลาดินสอมาให้เด็กดูและถามว่าอุปกรณ์ทั้งสองมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

-อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่่ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์เป็นคู่ แล้วถามที่ละคู่โดยสุ่มหัวข้อถาม

กิจกรรม
1.  อาจารย์ให้หยิบกล่องคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ช่วยกันคิดว่ากล่องสามารถนำไปสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องใดบ้าง




2. จับกลุ่มๆ ละ 10 คน แล้วนำกล่องของแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปร่าง


ผลงานของกลุ่มดิฉัน "หุ่นยนต์"

3. ผลงานทั้งหมด


ผลงานของเพื่อนๆทั้งหมด 

4. อาจารย์ให้นำผลงานของกลุ่มทั้งหมดมาจัดเป็นนิทรรศการ โดยให้วางแผนกันเอง 
ผลงานที่ได้ืคือ พิพิธภัณฑ์หุ่นยนต์ ประกอบไปด้วย
-บ้านหุ่นยนต์ 3 หลัง
-บ้านช้าง 1 หลัง 
-สถานีรถไฟ
-ประตูเข้า-ออก

ผลงานทั้งหมด "พิพิธภัณฑ์หุ่นยนต์"


ภาพบรรยากาศการเรียน

งานที่มอบหมาย
-ให้ตัดกระดาษลังเป็นรูปวงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1 นิ้ว 1.5 นิ้วและ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี (เขียว/เหลือง/ชมพู) รวมทั้งหมด 9 ชิ้น 
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 5

ไม่มีการเีรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติ


ทรงพระเจริญ


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 4

-อาจารย์เข้าสอนสาย เนื่องจากไปเข้าร่วมเปิดงานที่โรงเรียนสาธิต
-พูดถึงเรื่องขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)


  1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น นับ 1-10 หรือมากกว่านั้น การนับเพื่ออยากรู้จำนวน
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้เล่น ของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและิคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนหรืออาจเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนค่าจำนวนลำดับ ตัวเลขฮินดูอารบิก
  3. การจับคู่ (Matching) ให้เด็กฝึกฝนลักษณะต่างๆ แล้วจับคู่เข้ากันเหมือนอยู่ประเภทเดียวกัน จับคู่จำนวนเท่ากัน จับคู่ภาพเหมือนตัวเลข จับคู่รูปทรง
  4. การจัดประเภท (Classificaton) จัดเป็นหมวดหมู่และต้องกำหนดเกณฑ์ ปฐมวัยสร้างแค่เกณฑ์เดียว
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เพื่อให้เด็กรู้ค่า เช่น สั้น-ยาว หนัก-เบา กว้าง-แคบ
  6. การจัดลำดับ (Ordering) ให้เด็กจัดสิ่งของเป็นชุดๆตามสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shage and space) มีปริมาตร เนื่อที่และมิติ
  8. การวัด (Measurment) ให้เด็กได้ลงมือวัดซึ่งการวัดให้ได้ค่าได้จำนวน
  9. เซต (Set) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้รู้จัดชุดเครื่องครัว ชุดแต่งตัว มีประสบการณ์สร้างให้เด็กเกิดมโนทัศน์
  10. เศษส่วน (Fraction) การแบ่งครึ่ง แบ่งให้เท่ากัน ต้องนับและดึงออกทีละชิ้น ในเศษส่วนต้องมีคำว่า "ครึ่ง" "ทั้งหมด"
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) รูปทรง ตัวเลข เส้น ฝึกให้เด็กฝึกฝนตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservating) ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เด็กตอบตามที่ตาเห็นและตอบโดยไม่มีเหตุผล ยังเอาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้

(เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)


  1. การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1 
  2. จำนวน คือ 1-10 หรือจำนวนคู่ คี่
  3. ระบบจำนวน คือ ชื่อของตัวเลข
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากกการรวมกลุ่ม คือ การรวมกลุ่มและการแยก
  6. ลำดับที่ แสดงถึงจำนวน ปริมาณ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
  7. การวัด วัดของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
  8. รูปทรงเลขาคณิต คือให้เด็กเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาดและระยะทาง
  9. สถิติและกราฟ เป็นตัวหนึ่งในการนำเสนอทำแผนภูมิ

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556


วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 3

       จับกลุ่มๆ ละ 3 คน แล้วให้อ่านงานที่ได้้ไปค้นคว้ามาเกี่ยวกับความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฏีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์ อ่านของแต่ละคน แล้วสังเึคราะห์ออกมาให้เป็นงานกลุ่ม

สรุปได้ดังนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
     คณิตศาสตร์ คือ คณิตศาสตร์โครงสร้างเนื้อหาและวิชาการที่มีสัญลักษณ์หลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ การแก้ปัญหาและการคิดคำนวณ สอนให้ผู้เรียนได้คิดเร็วคิดเป็น
อ้างอิงจาก สุวร กาญจนมยูร.เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ:2532


หลักการสอนคณิตศาสตร์

  1. ควรสอนเนื้อหาครั้งละไม่มากนัก ไม่ควรสอนเร็วเกินไป
  2. เทคนิคการสอนและกิจกรรมเรียนควรให้แปรเปลี่ยนทุกวันและมีหลากหลายประเภท
  3. วิธีการสอนโดยการอธิบายและแสดงเหตุผลนี้ ผู้สอนเป็นผู้บอกให้นักเรียนคิดตาม เพื่อผู้สอนต้องการให้ผู้เีรียนรู้เรื่องใด ผู้สอนต้องพยายามอธิบายและแสดงเหตุผลให้ได้ข้อสรุป พร้อมทั้งแสดงวิธีการนำข้อสรุปไปใช้ บทบาทของผู้เรียน คือ ฟัง ตอบคำถาม และทำแบบฝึกหัดตามที่ผู้สอนกำหนด
อ้างอิงจาก  ลาวัลย์  พลกล้า.การสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ.2539

ขอบข่ายคณิตศาสตร์
     ทฤษฎีจำนวนประกอบด้วยประวัติทฤษฎีจำนวน จำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็มกำลัง 2 สมการ เศษส่วนต่อเนื่อง เป็นต้น
     คณิตศาสตร์ประถมศึกษาประกอบด้วย เลขคณิต เลขาคณิต พีชคณิต ระบบจำนวน และการบวก ลบ คูณ หาร และพื้นฐาน
อ้างอิงจาก  ประยูร  อาษานาม.การเีรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ.2537


ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
ดีนส์ Zoltan Dienes

  1. The Dynamic principle เด็กจะเรียนรู้จากการเล่นหรือกิจกรรม 3 ระดับ คือ การเล่นเกมหรือกิจกรรมที่ไม่มีกติกาแน่นอน แต่มีมโนคมติคณิตศาสตร์แฝงอยู่ จากนั้นเด็กเรียนรู้จากการเล่นที่มีกติกาหรือระเบียบ และขั้นสุดท้ายเด็กจะเรียนรู้จากการฝึกหัดซึ่งมุ่งให้เรียนรู้มโนคติที่ต้องการโดยตรง
  2. The Constructive principle ความรู้หรือมโนมติทางคณิตศาสตร์จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ยั่วยุให้เกิด ความนึกคิดที่จะแก้ปัญหา แม้ว่าเด็กจะไม่มีความคิดเชิงวิเคราะห์ หรือไม่สามารถประเมินอย่างมีเหตุผล
  3. The Mathematical veriability principle ตัวแปรทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างคงที่ การช่วยให้เด็กเข้าใจ มโนมติควรให้วิธีการหลายๆวิธี
  4. The Perceptual veriability principle สามารถรับรู้ได้หลายวิธีแต่มโนมติย่อมคงที่
อ้างอิงจาก ประยูร  อาษานาม.การเีรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ.2537




สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวกรรจิรา  สึกขุนทด
2. นางสาวชิดชนก  เสโส
3. นางสาวอัจฉริยา  พุทธานุ


ภาพขณะนั่งทำกิจกรรม